วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Google Drive และ Cloud Computing

Google Drive บริการ Cloud Storage ใหม่ล่าสุด คืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? มาดูประโยชน์และความสามารถของบริการนี้กัน

25 April 2012 -- บริการตัวใหม่ล่าสุดจากทาง Google ที่มีชื่อว่า "Google Drive" นั้นเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว ถ้าตามเวลาประเทศไทย อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่งถึง 5 ทุ่มโดยประมาณของวันที่ 24 April 2012 สำหรับ Blog ชิ้นนี้ เราจะมาแนะนำครับว่า "Google Drive" คืออะไร?  มีประโยชน์ยังไงกับชีวิต เราเอามาใช้ทำอะไรได้บ้าง

สัญลักษณ์ หรือ Icon Logo ของ Google Drive ที่ต่อจากนี้ไป เราจะเห็นมันบ่อยขึ้น

Google Drive คืออะไร?
  • เป็น Online Service ประเภท Cloud Technology ที่มีไว้สำหรับให้ผู้ใช้จัดเก็บข้อมูลลงไปในนั้น (หากผู้อ่านยังไม่คุ้นเคยกับ Cloud Technology สามารถอ่านได้ที่ blog นี้ -- http://www.s50.me/2012/04/it-trend-cloud-technology.html)
  • สามารถใช้ได้ฟรี (แต่ต้องมี Gmail Account ก่อน) โดยการใช้ฟรีนั้น จะมีเนื้อที่ให้ใช้ 5GB (Gigabytes) ซึ่งก็ถือว่ามีขนาดใหญ่พอใช้ได้  แต่ถ้าหากต้องการเนื้อที่เพิ่มเติมมากกว่านั้น ก็สามารถทำได้ครับโดยการเสียค่าบริการ เป็นรายเดือน หรือ รายปีไป  สนนราคาตอนนี้อยู่ที่
    • 25GB ที่ 2.49USD ต่อเดือน  (หรือประมาณ 79 บาทต่อเดือน)
    • 100GB ที่ 4.99USD ต่อเดือน (หรือประมาณ 158 บาทต่อเดือน)
    • 1000GB ที่ 49.99USD ต่อเดือน 
    • ซึ่งเมื่อเลือก Upgrade แบบจ่ายเงินแล้ว Gmail Inbox ของผู้ใช้จะเพิ่มเนื้อที่เป็น 25GB ด้วยเช่นจาก จากเดิมที่อยู่ประมาณ 7-8GB
  • การนำข้อมูลลงไปจัดเก็บใน Google Drive นั้นทำได้หลายวิธีมาก
    • เข้าผ่าน Web Browser แล้วเข้าไปที่ Gmail.com แล้วกดไปที่ Documents หรือว่า Drive Menu
    • เข้าผ่าน Windows Explorer โดยไปที่ Folder ของ Google Drive ซึ่งก่อนจะเข้าด้วยวิธีนี้ได้จำเป็นที่จะต้อง Download โปรแกรม Google Drive ที่ติดตั้งไว้บนเครื่องก่อนครับ รองรับได้ทั้ง Windows และ Mac OSX
    • เข้าผ่าน Mobile Device ประเภท iPhone, iPad หรือ Android (ไม่รองรับบน Blackberry) 

ยกตัวอย่างกรณี Windows 7 เมื่อติดตั้ง Google Drive เสร็จ เราจะเห็น Icon ตามนี้ครับ


และเมื่อกดที่ Icon ก็จะพบ Menu ต่างๆ มากมาย

  • ถ้าหากลองดูวิธีการเอาข้อมูลเข้าไปจัดเก็บแล้ว  เราจะพบว่า  มันทำงานได้ทั้งบน  Computer ทั่วไป และ บนมือถือ  นั่นหมายความว่า ถ้าเราทำงานบน Computer แล้วเก็บข้อมูลไว้ใน Folder ของ Google Drive แล้วปิดเครื่องไป ออกนอกสถานที่ แล้วเปิดด้วย iPhone  ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เราเพิ่งทำไว้บน Computer ได้  หรือในทางกลับกัน โดยที่ Google Drive จะทำหน้าที่ copy files, upload files หรือ sync files ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ ไม่ต้องทำอะไรเองเลย แค่เรียกไฟล์ใน Folder นั้นๆ ออกมา เท่านั้น

รูปตัวอย่างหน้าจอ หลังจากที่ติดตั้งโปรแกรม Google Drive เข้าไปใน Windows 7 แล้ว การใช้งานนั้นง่ายมาก แค่เอาไฟล์ข้อมูลไปวางไว้ใน Folder Google Drive ที่ตอนลงโปรแกรมมันจะถาม นั่นเอง


อ่านถึงจุดนี้ จะพบว่า มันทำให้ผู้ใช้ทำงานง่ายขึ้นเยอะ ให้ลืมเรื่องการ Upload files หรือ Copy Files เข้า USB Thumb Drive ได้เลย โปรแกรมของ Google Drive จะจัดการเรื่องนี้ให้อัตโนมัติ เพราะมันจัดเป็น File Synchronization Tool ประเภทหนึ่งนั่นเอง เหมือนกับ DropBox , SkyDrive, และ ผู้ให้บริการรายอื่นๆ





สิ่งที่ Google Drive จะช่วยสร้างประโยชน์เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้นอกเหนือจากการที่แนะนำไปในตอนต้นนั้นคือ
  • ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำเข้าไปไว้ใน Google Drive นั้น เราสามารถแชร์ (Share) ให้ผู้ใช้คนอื่น เช่น ทีมงาน เพื่อน ครอบครัว มาเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ และ ทำงานไปพร้อมๆ กันเวลาเดียวกันได้ (แก้ไขเอกสารไปพร้อมๆกันเวลาเดียวกัน) โดยใช้ความสามารถของ Google Docs นั่นเอง ซึ่ง Google Docs นั้นก็เป็นอีกบริการหนึ่งของ Google หากใครที่ใช้ Gmail มาแล้วพอสมควร จะรู้จัก Google Docs ครับ  Google Docs คือ Online Documents Collaboration เอาไว้ ทำงานร่วมกันหลายๆ คน สามารถ แก้ไข พิมพ์ เอกสารในนั้นได้พร้อมกันเวลาเดียวกันครับ ซึ่ง Google Docs รองรับการทำงานในรูปแบบ Document (Word Document), Spreadsheet (Excel) หรือ Presentation (PowerPoint) 
    • สำหรับไฟล์ประเภทอื่น เช่น รูปภาพ หรือ PDF หรืออื่นๆ นั้น ก็สามารถแชร์ให้ผู้ใช้คนอื่น Download ไปได้ครับ

  • ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำเข้าไปไว้ใน Google Drive นั้น เราสามารถค้นหาข้อมูลได้เต็มรูปแบบ (Full Text Search) หมาย ความว่า เราสามารถค้นหา สิ่งที่อยู่ในเนื้อภายในไฟล์นั้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งความสามารถทางด้านการ Search นั้น ต้องยกให้ Google เขาอยู่แล้ว ว่าทำได้ดี และ ทำได้เร็วมาก ไฟล์ใหม่ๆ ที่เราเพิ่งจะนำเข้า Google Drive นั้น ใน เวลาไม่นาน เราก็สามารถ Search ได้ทันที  ลองดูได้จากตัวอย่างในรูปด้านล่างนี้ (กดที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่) ผมทดสอบค้นหาคำว่า "กฤษฎีกา" ก็พบว่า มีอยู่ 1 เอกสาร  ซึ่งเอกสารนี้มีคำว่า "กฤษฎีกา" อยู่ภายในไฟล์นั้นๆ 
    • อย่างที่บอกไว้ในตอนต้นครับ ไฟล์ที่เพิ่งนำเข้าไปใน Google Drive นั้น ใช้เวลาเร็วมาก และพร้อมที่จะให้ค้นหาแบบ Full Text Search ภายในเนื้อไฟล์ได้ทันทีทันใด (เร็วเกินคาด)


หากอ่านถึงจุดนี้แล้ว เพื่อไม่ให้ Blog ชิ้นนี้ยาวเกินไป จนชวนง่วง :D  ผมเลยให้ความเห็นส่วนตัวว่า Google Drive นั้นมาเหนือกว่า ผู้ให้บริการรายอื่นๆ จริงๆ โดยเฉพาะในส่วนของการรองรับการทำ Full Text Search ที่สามารถ Search เข้าไปในตัวเอกสารได้  นั่นหมายความว่า ถ้าเราเก็บเอกสารทั้งหมดของเราไว้ใน Google Drive  เราจะหามันได้ง่ายมากเลย  และเราสามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ได้จากทุกอุปกรณ์ ความสามารถ ณ จุดนี้ ผมให้ไปเลย 10 แต้มเต็มครับ (จริงๆ Google Drive รองรับ Search รูปภาพด้วย แต่ยังไม่ขอพูดถึง ใน Blog ชิ้นนี้)

สำหรับองค์กรธุรกิจ Google Drive นั้นทาง Google จะเปิดบริการนี้ให้กับลูกค้าองค์กรของ Google ด้วยเช่นกัน (Google มีระบบ Email ที่เอาไว้ให้ ลูกค้าองค์กรใช้ด้วยนะครับ ชื่อว่า Google Apps for Business  เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะทำให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มธุรกิจหรือบริษัท นั้น สามารถใช้  Email ของบริษัท โดยมี Features ความสามารถต่างๆ เหมือน Gmail.com ทุกประการ แต่ว่ายังคงใช้ Domain Name เดิม เช่น  @yourcompany.com เป็นต้น) หากสนใจนำ Google Drive ไปใช้ในองค์กรธุรกิจ สามารถติดต่อตัวแทนขาย หรือ ตัวแทนจำหน่าย Google Apps for Business ประจำประเทศไทยได้ที่ บริษัท แทนเจอรีน (http://www.tangerine.co.th) ทาง บริษัท มีทีมงานที่มีประสบการณ์ และ ความชำนาญด้านเทคนิค เรื่อง Google Cloud Service พร้อมให้คำปรึกษา

เท่าที่ตรวจสอบดูตอนนี้ บริการ Google Drive นั้นอยู่ในขั้นเกือบเต็ม 100% ที่จะเปิดให้ลูกค้าองค์กรใช้ได้แล้วครับ ดูจากภาพด้านล่างนี้



Google Drive สำหรับองค์กรนั้น IT Administrator ขององค์กรนั้นๆ สามารถควบคุมเรื่องการ จัดซื้อ Storage เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ในองค์กรได้ครับ โดยอัตราราคาก็จะเป็นไปตามภาพข้างล่างนี้
  •  IT Administrator สามารถเลือกซื้อเป็น Storage License แต่ละขนาดได้ และนำ License เหล่านี้ ไป Assign ให้กับ Users แต่ละคน หรือ Team Organization ในแต่ละทีมได้ 
  • โดยการ Billing นั้นก็จะมาเก็บเงินที่องค์กรธุรกิจ จะไม่ได้เก็บเงินที่ผู้ใช้แต่ละคน (จะแตกต่างกับ Google Drive for Gmail User)

Cloud Computing คืออะไร? มีประโยชน์ยังไงบ้าง อ่านคำอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆได้ที่ Blog นี้

21 April 2012 -- Cloud Technology หรือ Cloud Computing คือ เทคโนโลยีของระบบประมวลผลรูปแบบใหม่ ที่เปลี่ยนมุมมองของผู้ใช้ให้เป็นไปในมุมมองในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้ทรัพยากรสาธารณูปโภคที่มีผู้ให้บริการ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ซึ่งจุดนี้หมายความว่าผู้ใช้สามารถใช้ Cloud Technology ในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้บริการ โดยเสียค่าบริการเป็น Pay per use จ่ายเท่าที่ใช้หรือจะใช้ประจำทุกเดือน คล้ายๆ เสียค่าสมาชิกรายเดือนของเคเบิล TV ก็ตามแต่ความต้องการในการใช้งาน โดยในปัจจุบัน องค์กรสามารถใช้ Cloud Technology ได้ 2-3 รูปแบบ (SaaS, IaaS, PaaS) อธิบายแบบง่ายๆ คือ


รูปแบบที่ 1 (Software as a Service, SaaS): จากรูปด้านล่างผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นและข้อมูลองค์กรได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Business Software บน Cloud Technologyได้ทันที เช่น ใช้ Email Application, ระบบ File Sharing/Content Management, ระบบ CRM Application สำหรับ Sales และ Customer Support เป็นต้น โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่า Application นี้ทำงานอยู่ที่ไหน เก็บข้อมูลอย่างไร ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้ตลอด ทุกที่ ทุกเวลา ที่สามารถเข้าถึง Internet ได้



Software as a Service (SaaS): ผู้ใช้สามารถใช้บริการ Application ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มี Internet


รูปแบบที่ 2 (Infrastructure as a Service, IaaS): สะดวก ยืดหยุ่น และ ง่ายต่อการบริหารทรัพยากร IT ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Virtual Server/ Virtual Machine บน Cloud Technology ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเครื่อง Server ที่มี 4 CPUs, 32GB Memory, 10TB Storage สามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ทันที จาก Cloud Technology เช่นเดียวกันกับรูปแบบที่ 1 ที่ผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเลยว่า Virtual Server หรือ Virtual PC/Desktop ที่ได้มานั้น ตั้งอยู่ที่ไหนมาได้อย่างไร สามารถเรียกใช้หรือคืนได้ทันทีเมื่อใช้เสร็จ



Infrastructure as a Service (IaaS): ผู้ใช้สามารถเรียก Computing Resource เช่น Server, PC Desktop ขึ้นมาใช้ได้ทันทีจาก Cloud Technology ไม่ต้องเสียเวลาไปรอสั่งซื้อเครื่อง แล้วรอเครื่องมาส่งกว่าจะได้ใช้งาน

 
Cloud Technology รูปแบบที่ 3 (Platform as a Service, PaaS): เป็นรูปแบบที่กำลังจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ของเพื่อให้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่อาศัยคุณสมบัติข้อดีของCloud ได้อย่างดีเยี่ยม รูปแบบนี้ อาจจะอธิบายได้ยากและซับซ้อนมากขึ้นกว่า 2 รูปแบบแรก ซึ่งผู้ใช้ Cloud ในรูปแบบนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ที่ต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานบน Cloud และให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นนั้นใช้คุณสมบัติต่างๆของ Cloud ที่จะไม่สามารถหาได้จากสภาวะปกติ (Non-cloud computing) เช่น ความสามารถในการขยาย Computing Resource (CPU/Memory) เมื่อต้องใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก หรือ หด Computing Resource เมื่อใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนไม่มาก เป็นต้น โดยเป็นรูปแบบการใช้ Cloud Technology ที่กำลังจะเป็นที่นิยมมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่น่าเกินปี 2015

 
Platform as a Service (PaaS): นักพัฒนา Software สามารถเรียกใช้ความสามารถหรือบริการต่างๆ ของ Cloud เพื่อนำมาประกอบกันเป็น Application ที่ยืดหยุ่น รองรับความสามารถที่หลากหลาย และ จำนวนผู้ใช้ที่มาก หรือ น้อยได้โดยอัตโนมัติ


จากรูปแบบการใช้ Cloud Technology ในแบบที่ 1 (SaaS) และ แบบที่ 2 (IaaS) จะพบว่า ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้ทั้ง Business Software และ/หรือ Virtual Servers และ/หรือ Virtual Desktop จาก Cloud ได้ทันทีทันใด ไม่ต้องรอขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆที่จะใช้ระยะเวลายาวนานเหมือนสมัยก่อนในอดีตก่อนหน้าที่จะมี Cloud Technology ที่จะต้องทำการ จัดซื้อ/จัดจ้าง อุปกรณ์ Hardware, Software ต่างๆ ใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ถึงจะสามารถใช้งานได้ นี่คือข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของความรวดเร็วในการได้ Information Technology (IT) มาใช้งาน ซึ่งจุดเด่นของรูปแบบการใช้ Cloud Technology ในลักษณะนี้นี่เองที่จะทำให้ธุรกิจสามารถขยับขยาย หรือ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น รวดเร็วมากขึ้น (หรือที่เรียกว่า Business Agility) และไม่มีภาระผูกพันที่ยาวนาน สามารถเรียกใช้และทำลายได้ที เมื่อใช้ Cloud Technology มาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรธุรกิจ 


ซึ่งถ้าหากพิจารณาเปรียบเทียบในเชิงต้นทุนเพื่อที่จะลงทุนว่า จะใช้ Cloud Technology หรือจะใช้แบบดั้งเดิม (Non-Cloud) นั้น ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดสามารถจำแนกออกเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. (Cloud) "Pay as you grow"  VS  (Non-Cloud) "Pay Upfront investment": ถ้าเป็น Cloud Technology รูปแบบการลงทุนจ่ายค่าใช้บริการจะเป็นไปในลักษณะ "ใช้น้อย จ่ายน้อย, ใช้มาก จ่ายมาก" ซึ่งจะแตกต่างจาก Non-Cloud หรือการใช้งาน IT ในอดีตคือ ต้องลงทุน Hardware/Software ไปก่อนตอนเริ่มต้นเป็นเงินก้อนใหญ่ ไม่ว่าตอนเริ่มต้นจะใช้มากหรือใช้น้อยก็ตาม หลังจากนั้นต้องคอยเฝ้าดูระบบเป็นระยะ ว่าจำเป็นต้องทำ Upgrade ชุดใหม่แล้วหรือยัง ซึ่งเป็น Upfront investment อีกก้อนในอนาคต ไม่รู้จบ และ ยังต้องมีค่า Maintenance Service ทั้ง Hardware/Software มาเกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งเป็นต้นทุนแฝง
 

2. (Cloud) ไม่มีต้นทุนในเชิง Maintenance Service ที่องค์กรธุรกิจต้องจ่าย VS (Non-Cloud) มีต้นทุน Maintenance Service ที่องค์กรธุรกิจต้องจ่ายทุกปี หรือ ทุก 3-5 ปี : ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ถ้าเลือกใช้ Cloud Technology องค์กรธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ชัดเจน คิดตามการใช้งาน เช่น คิดตามจำนวนผู้ใช้ หรือ ตามเวลาที่ใช้ เป็นต้น จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดแอบแฝงอีก แต่ถ้าหากเป็นแบบระบบเดิม (Non-Cloud) หน่วยงาน IT ขององค์กร จะมีค่าใช้จ่ายในเชิง Maintenance Service และ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ แอบแฝง เช่น ค่าเช่า Space Datacenter, ค่าไฟ, แอร์ และ การทำ Datacenter สำรองข้อมูลนอกพื้นที่กรณีเกิดภาวะวิกฤต หรือที่เรียกว่า Disaster Recovery Site เป็นต้น

เพื่อยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอยกตัวอย่าง Public Cloud Service ตัวอย่างหนึ่งของ Google ที่มีชื่อว่า "Google Apps for Business"


Google Apps Cloud Service: เป็น Software as a Service (SaaS) ที่คิดเงินตามจำนวนผู้ใช้ (50 USD ต่อคนต่อปี) โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แอบแฝงอีก สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนผู้ใช้ได้ตลอดเวลา


Google Apps นั้นเป็น Public Cloud Service ประเภท SaaS (Software as a Service) ที่ให้บริการด้าน Email Messaging & Collaboration หรือถ้าจะแปลเป็นไทยคือ ระบบอีเมล์และระบบการแชร์ข้อมูลร่วมกัน ภายในองค์กรธุรกิจนั่นเอง โดยรูปแบบของการใช้งาน จะมีความคล้ายคลึงกับ Gmail.com ที่ให้บริการ Free email อยู่บน Internet แต่มีจุดที่แตกต่างมากมายคือ Google Apps ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจไว้ใช้งานภายใน สามารถมี email address เป็น @companyname.com ของลูกค้าได้ (จะไม่ใช่ @gmail.com) และยังมีฟีเจอร์อื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น เช่น ระบบ Calendar, Mailing List, File Sharing, Chat, Voice/Video over IP เพื่อโทรหากันโดยผ่านเครือข่าย Internet ,ระบบ Email Anti-Spam/Anti-Virus, Email Archiving (เก็บอีเมล์ได้นาน 1 ปี หรือ 10 ปี) และ นอกเหนือจากนี้ ยังสามารถเข้าถึง Google Apps ผ่านทาง อุปกรณ์มือถือเช่น iPhone, BlackBerry, Windows Mobile ได้อีกด้วย โดยรองรับการทำ Push Notification เรียกได้ว่า จัดครบชุดใหญ่เลยทีเดียว ซึ่งรูปแบบการคิดค่าใช้บริการของ Google Apps นั้นก็จะนับจำนวนผู้ใช้งาน โดยอัตราราคาอยู่ที่ 50 USD/user/year (หรือประมาณ 1700 บาทต่อคนต่อปี) ได้ความสามารถของซอฟต์แวร์ที่อธิบายไปด้านบนทั้งหมดครบชุด และสามารถเก็บเนื้อที่ Email Storage ได้สูงถึง 25GB/user



Google Engineer in Google Datacenter

Google ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ จะทำการจัดการเทคโนโลยีเบื้องหลังทั้งหมดให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยจะมีการทำการสำรองข้อมูลกระจายไปยัง Google Datacenter ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเพิ่ม Service Level ให้ครอบคลุมและให้มี Service Uptime มากสุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้บริการได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 7 วัน ซึ่งถ้าหากองค์กรธุรกิจที่ต้องการลงทุน IT Infrastructure เองเพื่อให้ได้ความสามารถเทียบเคียงกับ Google Apps นั้น จำเป็นต้องลงทุน (Upfront Investment) ในหลายๆ เรื่อง ที่เป็น Infrastructure หลัก เช่น Server, Storage, Email Software License, Anti-Virus/Anti-Spam Software, Mobile Servers, File Servers , Operating System License , Clustering Software License และ อื่นๆ อีกมากมาย ยังไม่รวมถึงการทำ Disaster Recovery ที่จำเป็นต้องมี Datacenter สำรอง นอกสถานที่ เพื่อปกป้องข้อมูลของระบบ Email อีกด้วย สุดท้ายถ้าหากมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้น Server Hardware ต่างๆ จะต้องมีการ Upgrade เปลี่ยนเครื่อง ก็จัดเป็น Upfront Investment อย่างเป็นลูกโซ่ไม่รู้จบ ถ้าเทียบกับการลงทุนกับ Google Apps เพียงคิดค่าบริการเป็นรายปีต่อผู้ใช้ เหมาจ่าย ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง เป็นต้น
นี่คือข้อแตกต่างในเชิงการลงทุนอย่างชัดเจน ระหว่างการใช้Cloud กับ แบบดั้งเดิม

หากสนใจในตัว Cloud Google Apps เพื่อนำไปเปลี่ยนระบบอีเมล์ขององค์กรให้ติดต่อ ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Google ประจำประเทศไทยได้ที่ บริษัท แทนเจอรีน จำกัด หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Apps ได้ที่ http://www.tangerine.co.th/apps-overview

นอกจากนี้ยังมี Cloud Technology อื่นๆ อีกมากมาย ที่ให้บริการ Business Application ทำนองนี้ เช่น Salesforce.com หรือ Amazon Web Services หรือ ที่อื่นๆ ซึ่งจุดประสงค์ของ Cloud Technology ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจ ลดการเสียเวลาหรือเสียค่าใช้จ่ายที่จะต้องบริหารจัดการ IT Infrastructure ด้วยตนเอง ให้ไปเน้นการทำธุรกิจขององค์กรแทนที่จะเน้นการบริหารจัดการ IT Infrastructure ในองค์กร ซึ่งมีต้นทุนในการบริหารจัดการสูงกว่าการ Outsourcing ไปใช้บริการ Public Cloud Service อย่างแน่นอน

List รายชื่อ Cloud Services อื่นๆ ขึ้นกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม